วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560




นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว







ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus austeni
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Anorrhinus
ชั้น: สปีชีส์

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (อังกฤษ: Austen's brown hornbill, Brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus austeni) เป็นนกเงือกที่พบในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและภาคใต้ของจีนลงไปทางใต้จนถึงตอนใต้ของเวียดนามและภาคเหนือของไทย บ่อยครั้งที่ถูกจัดเป็นชนิดย่อยของนกเงือกสีน้ำตาล เป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่าลึกที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ไม่ได้อยู่ใกล้ชายป่า

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาวจัดเป็นนกเงือกขนาดกลาง สีน้ำตาล มีสีขาวที่ปลายหาง ตัวผู้มีแก้มและลำคอสีขาว ปากสีครีมอ่อน ส่วนล่างสีน้ำตาลแดง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ หัวและลำคอสีน้ำตาลหรือดำ ปากสีน้ำตาลหรือดำ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ฝูงละ 2-15 ตัว[1]


นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ถือเป็นนกเงือกที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงสามารถมีลูกในโพรงรังครั้งหนึ่งได้หลายตัว นอกจากนี้แล้วลูกนกที่เกิดจากพ่อแม่นกในปีก่อน ๆ จะมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่นกเลี้ยงลูกอีกด้วย




แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org
นกชนหิน







ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Rhinoplax
ชั้น: สปีชีส์

ลักษณะ
นกชนหิน ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 45 ล้านปีมาแล้ว[2] มีลักษณะเด่นกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ ตรงที่สันบนจะงอยปากใหญ่หนาเนื้อในสีขาวตันคล้ายงาช้าง และมีขนหางพิเศษคู่หนึ่ง ซึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่นๆ ออกไปมากถึง 50 เซนติเมตร แลเห็นเด่นชัด นกตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบสีดำพาดขวาง และปลายปีกสีขาวเป็นแถบกว้าง จะงอยปากตอนโคน และบนสันสีแดงคล้ำ ตอนปลายสีเหลืองเรื่อๆ บริเวณลำคอที่ไม่ขนในนกตัวผู้จะมีสีแดงคล้ำ ส่วนนกตัวเมียจะมีสีฟ้าซีดหรือสีฟ้า แต่นกวัยอ่อนเพศผู้ ลำคอจะมีสีแดงเรื่อๆ และนกเพศเมียหนังส่วนนี้จะเป็นสีม่วง นอกจากนี้สันบนจะงอยปากจะมีขนาดเล็กกว่า และขนหางยังเจริญไม่เต็มที่ มีลักษณะสั้นกว่านกโตเต็มวัย

อุปนิสัย
ปกติจะหากินในระดับยอดไม้ กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ลูกไทร บางครั้งพบว่ากินสัตว์อื่น ๆ เช่น กิ้งก่า กระรอก และนกอีกด้วย มักจะอยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่เป็นคู่ ฤดูผสมพันธุ์เริ่มราวปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังในต้นไม้สูง และใช้วัสดุปิดปากรังเช่นเดียวกับนกเงือกชนิดอื่นๆ โดยที่รังของนกชนหินจะไม่เหมือนกับนกเงือกชนิดอื่นๆ เพราะจะหารังเฉพาะที่อยู่บนตอไม้หรือเข้าได้ทางด้านบนเท่านั้น เพราะส่วนหัวที่ตันและหางที่ยาว อีกทั้งนกชนหินจะเลี้ยงลูกนานกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ คือ 5 เดือน โดยที่แม่นกจะอยู่กับลูกในโพรงตลอดเวลา ไม่มี

การพังโพรงออกมาก่อน

นกชนหินมีเสียงร้องที่ไม่เหมือนนกชนิดอื่นๆ โดยนกตัวผู้จะร้องติดๆกันดัง "ตู๊กตู๊ก" ทอดเป็นจังหวะ ร้องติดต่อกันยาวเสียงร้องจะกระชั้นขั้นตามลำดับ เมื่อจะสุดเสียงเสียงร้องจะคล้ายเสียงหัวเราะประมาณ 4-6 ครั้งเมื่อตกใจจะแผดเสียงสูงคล้ายเสียงแตร และเมื่อต่อสู้กันเพื่อแย่งอาณาเขต จะใช้ส่วนหัวที่หนาชนกัน จึงได้ว่าว่า "นกชนหิน" บางครั้งอาจจะบินชนกันในอากาศ

ถิ่นอาศัยและการกระจายพันธุ์
นกชนหินเป็นนกประจำถิ่นที่พบในป่าดิบชิ้นระดับต่ำ พบตั้งแต่แถบเทือกเขาตะนาวศรีลงมาทางใต้จนถึงประเทศมาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว

สถานการอนุรักษ์
ปัจจุบันนกชนหินจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญาไซเตส จัดเอาไว้ในบัญชีที่ 1 นกชนหินถูกล่าอย่างหนักเพื่อเอาสันบนจะงอยปากบนไปแกะสลักทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มีคุณค่าสูงมาก และจากการสูญเสียแหล่งอาศัย จำนวนประชากรจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในทุกบริเวณที่อาศัย





แหล่งที่มา : https://www.google.co.th
นกเงือกกรามช้าง









ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: นกเงือกโหนกเล็ก
ชั้น: สปีชี

นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู๋กี้ (อังกฤษ: Wreathed hornbill, Bar-pouched wreathed hornbill) เป็นนกในวงศ์นกเงือกพบในป่าจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศภูฏาน, ทางตะวันออกและใต้จนถึงกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะซุนดา ยกเว้น เกาะซูลาเวซี นกเงือกกรามช้างยาว 75100 ซม. เพศผู้หนัก 1.8-3.65 กก. เพศเมียหนัก 1.36-2.7 กก.[2] ทั้งสองเพศมีลักษณะต่างกัน ซึ่งคล้ายกันกับญาติใกล้ชิดของมันคือนกเงือกกรามช้างปากเรียบ แต่นกเงือกกรามช้างมีขีดสีเข้มที่คอส่วนล่าง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Bar-pouched)

ลักษณะ

นกเงือกกรามช้างยาว 75100 ซม. เพศผู้หนัก 1.8-3.65 กก. เพศเมียหนัก 1.36-2.7 กก. มีโหนกเป็นลอนหยักบริเวณด้านบนของปาก ปากด้านข้างเป็นรอยสัน ทั้งสองเพศมีลักษณะต่างกัน เพศผู้มีถุงใต้คอสีเหลืองขีดดำสองข้าง เพศเมียมีถุงสีฟ้า ลำตัวสีดำปลอด หางมีสีขาว



แหล่งที่มา : https://www.google.co.th
นกเงือกหัวหงอก







                                                                                                                                                                     ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus

สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Berenicornis

ชั้น: สปีชีส์


ลักษณะทั่วไป

นกเงือกหัวหงอกที่สวนสัตว์พาต้า
นกเงือกหัวหงอกมีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนหัว คอ หน้าอก และปลายปีกของตัวผู้มีสีขาว นอกนั้นมีสีดำ ส่วนตัวเมียมีคอและตัวสีดำ ปากมีขนาดใหญ่สีเทาดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีหงอนขนเป็นสีขาว

นกเงือกหัวหงอก ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนาน โดยจากการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอพบว่าเก่าแก่ถึง 47 ล้านปีก่อน

ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปเอเชียแถบเกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย เวียดนาม เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก เช่น งู จิ้งเหลน กิ้งก่า รวมถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่น ผลไม้ ลูกไม้ นกเงือกหัวหงอกเป็นนกเงือกชนิดที่กินอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าพืช และเคยล่าปลากินเป็นอาหารมาแล้วด้วย

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์


ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ชอบส่งเสียงร้องดังอยู่เสมอ อาศัยตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวหงอก เป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น โดยตลอดชีวิตจะไม่มีการเปลี่ยนคู่เลย ตัวเมียจะวางไข่ในโพรงไม้ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาป้อนแม่นกและลูกนก







แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/
นกเงือกหัวแรด






ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros

สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Buceros


ลักษณะ

เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวประมาณ 120 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยตัวเมียมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีโหนกบริเวณหูและตาซีดกว่าตัวผู้ นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ขนบนปีกและตัวสีดำ ท้องและหางมีสีขาวและมีแถบสีดำพาดตามขวางตรงใกล้ปลายหาง คล้ายกับนกกาฮัง โหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นทางด้านบน ตรงโคนโหนกมีสีแดงบริเวณตอนหน้าของส่วนที่โค้งขึ้นทางด้านบนคล้ายนอก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[2]

ถิ่นอาศัยและอาหาร

พบในมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป อาหารได้แก่ งู จิ้งเหลน กิ้งก่า ผลไม้ ลูกไม้ สัตว์เล็กๆ

พฤติกรรมและการสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบในระดับความสูงไม่เกิน 4,000 ฟุต หรือ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล มักเกาะบนกิ่งไม้สูง พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวแรดเหมือนกับนกเงือกอื่น ๆ โดยทำรังไข่อยู่ตามโพรงไม้ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนก และเมื่อลูกนกเจริญเติบโตขึ้นจนคับโพรง แม่นกจะเป็นฝ่ายพังโพรงออกมาก่อน เพื่อให้ลูกนกอยู่ได้อย่างสบายขึ้น และช่วยพ่อนกหาอาหารมาป้อนลูก ซึ่งพฤติกรรมการพังโพรงของแม่นกออกมาก่อนลูก จะพบได้เฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ คือ นกเงือกหัวแรด และนกกกเท่านั้น

สถานภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยสถานที่สามารถชมได้ในประเทศไทย คือ สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา




แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/





                                                         นกกะวะ  ( Buceros bicornis)





นกกะวะ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Buceros bicornis

ลักษณะ

    นกกกหรือนกกาฮัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากและใหญ่ที่สุดในจำพวกนกเงือกของไทย โดยมีขนาดลำตัว 122 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่า และต่างกันตรงที่ตัวผู้มีตาสีแดงทับทิม โหนกมีสีดำที่ด้านหน้าและด้านท้าย ตัวเมียตาสีซีดหรือสีขาว และไม่มีสีดำที่โหนก จากกลางโหนกของนกกกลงมามีสีเหลืองอ่อนปนสีส้ม สีนี้เกิดจากต่อมน้ำมันที่ก้น เมื่อนกตายลงสีนี้จะหายไปด้วย ตอนเช้าและตอนเย็นชอบร้องเสียงดัง กก กก หรือ กาฮัง กาฮัง
ถิ่นอาศัย - อาหาร

     มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดถึงพม่า ไทย และเกาะสุมาตรา สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และเคยมีมากที่เกาะตะรุเตา ชนิดย่อย homrai พบบริเวณภาคเหนือ ชนิดย่อย biconnis พบทางภาคใต้ นกกกกินผลไม้สุก เช่น กล้วย มะละกอ มะเดื่อ ไทร มะปางป่า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า แย้ หนู งู โดยเอาหางจับฟาดกับกิ่งไม้ให้ตายก่อน แล้วเอาปากงับตลอดตัวให้เนื้อนิ่มกระดูกแตก แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ อ้าปากรับให้สัตว์นั้นเข้าไปในปากแล้วกลืนลงไป
พฤติกรรม - การขยายพันธุ์

     ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ซึ่งมีต้นไม้สูง ๆ ชอบอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ชอบกระโดดหรือร้อง ขณะหากินร้องเสียงดังมาก เวลาบินจะกระพือปีกสลับกับร่อน เสียงกระพือปีกดังคล้ายเสียงหอบ ปกติจะเกาะตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ผลในป่า บริเวณต้นที่มีผลสุกชนิดที่ชอบ มันจะมากินทุกวันจนผลไม้หมด จึงไปหากินที่ต้นอื่น นกกกผสมพันธุ์ในหน้าหนาวจนถึงหน้าร้อน วางไข่ตามโพรงไม้สูง วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ก่อนวางไข่ตัวเมียจะเข้าไปในโพรงแล้วทำการตบแต่งโพรงก่อน ตัวผู้คาบดินผสมกับมูลของตัวเมียโบกปิดปากโพรง หรืออาจใช้อาหารที่กินเข้าไปแล้วสำรอกออกมาเพื่อปิดปากโพรง เหลือช่องไว้ตรงกลางพอให้ตัวเมียยื่นปากออกมาได้ ขณะที่ตัวเมียกกไข่และเลี้ยงลูกอยู่นี้ ตัวผู้จะหาอาหารมาเลี้ยงลูกและเมียของมัน ตัวเมียจะผลัดขนออกและขนขึ้นใหม่เต็ม ซึ่งกินเวลาพร้อมๆไปกับลูกของมันมีขนขึ้นเต็ม เมื่อขนขึ้นเต็มตัวเมียจะจิกปากโพรงออกแล้วหัดบินพร้อมกับลูก

 สภาพปัจจุบัน    เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535




แหล่งที่มา : http://www.chiangmaizoo.com/