นกเงือกหัวแรด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Buceros
ลักษณะ
เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวประมาณ 120 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย
โดยตัวเมียมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีโหนกบริเวณหูและตาซีดกว่าตัวผู้
นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ขนบนปีกและตัวสีดำ
ท้องและหางมีสีขาวและมีแถบสีดำพาดตามขวางตรงใกล้ปลายหาง คล้ายกับนกกาฮัง
โหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นทางด้านบน ตรงโคนโหนกมีสีแดงบริเวณตอนหน้าของส่วนที่โค้งขึ้นทางด้านบนคล้ายนอก
อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[2]
ถิ่นอาศัยและอาหาร
พบในมาเลเซีย
ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป อาหารได้แก่ งู
จิ้งเหลน กิ้งก่า ผลไม้ ลูกไม้ สัตว์เล็กๆ
พฤติกรรมและการสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบในระดับความสูงไม่เกิน 4,000 ฟุต หรือ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
มักเกาะบนกิ่งไม้สูง พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวแรดเหมือนกับนกเงือกอื่น ๆ
โดยทำรังไข่อยู่ตามโพรงไม้ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนก
และเมื่อลูกนกเจริญเติบโตขึ้นจนคับโพรง แม่นกจะเป็นฝ่ายพังโพรงออกมาก่อน
เพื่อให้ลูกนกอยู่ได้อย่างสบายขึ้น และช่วยพ่อนกหาอาหารมาป้อนลูก
ซึ่งพฤติกรรมการพังโพรงของแม่นกออกมาก่อนลูก จะพบได้เฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ คือ
นกเงือกหัวแรด และนกกกเท่านั้น
สถานภาพปัจจุบัน
ปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
โดยสถานที่สามารถชมได้ในประเทศไทย คือ สวนสัตว์ดุสิต
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น