นกชนหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Rhinoplax
ชั้น: สปีชีส์
ลักษณะ
นกชนหิน
ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 45 ล้านปีมาแล้ว[2] มีลักษณะเด่นกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ
ตรงที่สันบนจะงอยปากใหญ่หนาเนื้อในสีขาวตันคล้ายงาช้าง และมีขนหางพิเศษคู่หนึ่ง
ซึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่นๆ ออกไปมากถึง 50 เซนติเมตร
แลเห็นเด่นชัด นกตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบสีดำพาดขวาง
และปลายปีกสีขาวเป็นแถบกว้าง จะงอยปากตอนโคน และบนสันสีแดงคล้ำ
ตอนปลายสีเหลืองเรื่อๆ บริเวณลำคอที่ไม่ขนในนกตัวผู้จะมีสีแดงคล้ำ
ส่วนนกตัวเมียจะมีสีฟ้าซีดหรือสีฟ้า แต่นกวัยอ่อนเพศผู้ ลำคอจะมีสีแดงเรื่อๆ
และนกเพศเมียหนังส่วนนี้จะเป็นสีม่วง นอกจากนี้สันบนจะงอยปากจะมีขนาดเล็กกว่า
และขนหางยังเจริญไม่เต็มที่ มีลักษณะสั้นกว่านกโตเต็มวัย
อุปนิสัย
ปกติจะหากินในระดับยอดไม้ กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่
เช่น ลูกไทร บางครั้งพบว่ากินสัตว์อื่น ๆ เช่น กิ้งก่า กระรอก และนกอีกด้วย
มักจะอยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่เป็นคู่
ฤดูผสมพันธุ์เริ่มราวปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังในต้นไม้สูง
และใช้วัสดุปิดปากรังเช่นเดียวกับนกเงือกชนิดอื่นๆ โดยที่รังของนกชนหินจะไม่เหมือนกับนกเงือกชนิดอื่นๆ
เพราะจะหารังเฉพาะที่อยู่บนตอไม้หรือเข้าได้ทางด้านบนเท่านั้น
เพราะส่วนหัวที่ตันและหางที่ยาว อีกทั้งนกชนหินจะเลี้ยงลูกนานกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ
คือ 5 เดือน โดยที่แม่นกจะอยู่กับลูกในโพรงตลอดเวลา ไม่มี
การพังโพรงออกมาก่อน
นกชนหินมีเสียงร้องที่ไม่เหมือนนกชนิดอื่นๆ
โดยนกตัวผู้จะร้องติดๆกันดัง "ตู๊ก…ตู๊ก"
ทอดเป็นจังหวะ ร้องติดต่อกันยาวเสียงร้องจะกระชั้นขั้นตามลำดับ
เมื่อจะสุดเสียงเสียงร้องจะคล้ายเสียงหัวเราะประมาณ 4-6
ครั้งเมื่อตกใจจะแผดเสียงสูงคล้ายเสียงแตร และเมื่อต่อสู้กันเพื่อแย่งอาณาเขต
จะใช้ส่วนหัวที่หนาชนกัน จึงได้ว่าว่า "นกชนหิน"
บางครั้งอาจจะบินชนกันในอากาศ
ถิ่นอาศัยและการกระจายพันธุ์
นกชนหินเป็นนกประจำถิ่นที่พบในป่าดิบชิ้นระดับต่ำ
พบตั้งแต่แถบเทือกเขาตะนาวศรีลงมาทางใต้จนถึงประเทศมาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
สถานการอนุรักษ์
ปัจจุบันนกชนหินจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่
1 และอนุสัญญาไซเตส จัดเอาไว้ในบัญชีที่ 1 นกชนหินถูกล่าอย่างหนักเพื่อเอาสันบนจะงอยปากบนไปแกะสลักทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มีคุณค่าสูงมาก
และจากการสูญเสียแหล่งอาศัย จำนวนประชากรจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในทุกบริเวณที่อาศัย
แหล่งที่มา : https://www.google.co.th